รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) | หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจิตเวชศาสตร์ |
(ภาษาอังกฤษ) | Residency training in Psychiatry |
ชื่อวุฒิบัตร
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) | วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจิตเวชศาสตร์ |
(ภาษาอังกฤษ) | Diploma of the Thai Board of Psychiatry |
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) | ว.ว. สาขาจิตเวชศาสตร์ |
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) | Dip.,Thai Board of Psychiatry |
พันธกิจของการฝึกอบรม/หลักสูตร
พันธกิจของหลักสูตรการฝึกอบรมได้กำหนดขึ้นโดยคำนึงถึงความต้องการด้านสุขภาพของชุมชน สังคม ระบบบริการสุขภาพ นำข้อมูลทางสถิติของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภาและราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยมาใช้เป็นแนวทาง รวมถึงมุมมองอื่น ๆ ที่เป็นความรับผิดชอบทางสังคมตามความเหมาะสม | |
๑) | มีความรู้ความสามารถในเวชปฏิบัติที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบทของสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ |
๒) | มีความสามารถในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพหรือเป็นทีมได้ |
๓) | มีเจตนารมณ์และเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ศึกษาต่อเนื่องและพัฒนาวิชาชีพตลอดชีวิต |
๔) | มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัยเพื่อการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมสุขภาพโดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม |
๕) | มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ |
๖) | มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และองค์กรเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริการทางจิตเวชศาสตร์ |
๗) | มีความสามารถด้านอื่นๆที่สำคัญได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ การทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพโดยเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความสามารถในการบริหารจัดการ ความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัยเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง |
๘) | มีความสามารถในการการดูแล รักษา ป้องกัน ส่งเสริม และฟื้นฟูสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วย รวมทั้งครอบครัวของผู้ป่วย มีปฎิสัมพันธ์ที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงานและเพื่อนร่วมวิชาชีพ |
๙) | มีความรับผิดชอบต่อสังคม และประกอบวิชาชีพด้วยความสุจริตตามมาตรฐานและตามจรรยาบรรณจิตแพทย์ และทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม |
๑๐) | มีความสามารถในการรักษาสุขภาพและสภาวะการทำงานได้อย่างสมดุล ปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล |
ผลลัพธ์ของการฝึกอบรม/หลักสูตร
แพทย์ประจำบ้านที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์ต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถขั้นต่ำตามสมรรถนะหลักทั้ง ๖ ด้านดังนี้ | |
๑) | การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care) |
ก. มีทักษะในการสัมภาษณ์ทางจิตเวช การตรวจร่างกาย การตรวจสภาพจิต การใช้แบบประเมินที่สำคัญ และการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผลเพื่อนำไปสู่ การตัดสินใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ข. วินิจฉัยบำบัดรักษาภาวะผิดปกติทางจิตเวชศาสตร์ที่พบโดยทั่วไปในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ค. บันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์และสม่ำเสมอ ง. ป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพจิต |
|
๒) | ความรู้ ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคม รอบด้าน (Medical Knowledge and Skills) |
ก. มีความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพจิต จิตวิทยา วิทยาศาสตร์การแพทย์และสังคม ที่จำเป็นต่อ การปฏิบัติงานด้านจิตเวช ข. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพและเชี่ยวชาญในสาขาจิตเวชศาสตร์ |
|
๓) | การเรียนรู้จากการปฏิบัติและการพัฒนาตนเอง (practice-based learning and improvement) |
ก. วิพากษ์บทความ และดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ ข. มีความรู้ในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณทางการแพทย์ และการแพทย์เชิงประจักษ์ ค. เรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพได้ด้วยตนเองจากการฝึกปฏิบัติ |
|
๔) | ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills) |
ก. นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ข. ถ่ายทอดความรู้และทักษะ เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำแก่แพทย์ นักศึกษาแพทย์และหรือ บุคลากรทางการแพทย์ ค. สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตาเคารพ การตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ง. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ |
|
๕) | ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) |
ก. มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและ ชุมชนอย่างมีอิสระทางวิชาชีพ ข. มีความสามารถในการสำรวจจิตใจ พัฒนาตัวเอง และสามารถบริหารจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องได้เหมาะสม ค. มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (continuous professional development) ง. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย จ. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม |
|
๖) | การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice) |
ก. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพ บริบททางสังคม และวัฒนธรรมของประเทศ ข. มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย ค. ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (cost consciousness medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ |
แผนการฝึกอบรม/หลักสูตร
วิธีการให้การฝึกอบรม การจัดประสบการณ์เรียนรู้มีรายละเอียดในภาคผนวกที่ ๑ หัวข้อ วิธีการให้การฝึกอบรม (ปรับปรุงหลักสูตร ๒๕๖๑) โดยสถาบันฯมีแนวทางการจัดการฝึกอบรมตามหัวข้อต่อไปนี้ | |
๑) | สมรรถนะในการดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care) มีการมอบหมายให้แพทย์ประจำบ้านผู้เข้ารับการฝึกอบรม รับผิดชอบดูแลรักษาผู้ป่วย ในความควบคุมของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมดังต่อไปนี้ |
ก. แพทย์ประจำบ้านปีที่ ๑ เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลทางจิตเวชศาสตร์ระดับไม่ซับซ้อน ได้แก่
• ความรู้พื้นฐานทาง psychological science ในโรคที่พบบ่อย
ข. แพทย์ประจำบ้านปีที่ ๒,๓ เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลทางจิตเวชศาสตร์ระดับซับซ้อน ได้แก่• Basic technique of interview และ mental status examinationเพื่อการวินิจฉัย • การดูแลโรคหรือภาวะทางจิตเวชที่ไม่ซับซ้อนและ/หรือพบบ่อย • Emergency management เช่น aggression, suicide • Basic supportive psychological support
• การสัมภาษณ์ทางจิตเวช (psychiatric interviewing) และ การตรวจสภาพจิต (mental status examination) เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัย ความเข้าใจสาเหตุการเกิดอาการและวางแผนการรักษาได้
• การดูแลโรคหรือภาวะทางจิตเวชที่ซับซ้อนและ/หรือพบน้อย • การดูแลโรคหรือภาวะทางจิตเวชในบริบทต่าง ๆ เช่น การรับปรึกษาจากแผนกต่างๆในโรงพยาบาลทั่วไป (consultation) • Psychological intervention ในประเด็นที่สำคัญได้ • การฝึกปฏิบัติงานในสถานบำบัดผู้ป่วยจิตเวชเฉพาะกรณี เช่น จิตเวชศาสตร์ด้านสารเสพติด การทหาร เด็กวัยรุ่น สูงอายุ หรือ การนอนหลับ |
|
๒) | ความรู้ ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน (Medical Knowledge and Skills) |
ก. แพทย์ประจำบ้านปีที่ ๑ เรียนวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานทางจิตเวชศาสตร์ เช่น พฤติกรรมศาสตร์ จิตเวชศาสตร์ทั่วไป และ จิตเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ข. แพทย์ประจำบ้านปีที่ ๒, ๓ เรียนและปฏิบัติงานในสาขาวิชาเฉพาะทางต่างๆของจิตเวชศาสตร์ ค. แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี เข้าร่วมในกิจกรรมทางวิชาการ เช่น case conference, journal club ง. แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการรักษาด้วยการทำจิตบำบัด หรือวิธีการรักษาแบบใหม่ๆที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางจิตเวชศาสตร์ |
|
๓) | การพัฒนาตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based Learning and Improvement) แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีควรมีประสบการณ์ด้านต่าง ๆ ดังนี้ |
ก. การเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม และการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ ข. ประสบการณ์ด้านการสอน ค. การบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ง. ทำงานวิจัยได้มาตรฐานตามเกณฑ์สอบวุฒิบัตรสาขาจิตเวชศาสตร์ |
|
๔) | ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills) แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีต้อง |
ก. เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร ข. นำเสนอข้อมูลผู้ป่วยและอภิปรายปัญหาในกิจกรรมวิชาการได้เช่น case conference เป็นต้น |
เนื้อหาของการฝึกอบรม/หลักสูตร
๑) | ความรู้พื้นฐานของจิตเวชศาสตร์และระบบที่เกี่ยวข้อง |
๒) | โรคหรือภาวะทางจิตเวชศาสตร์ที่สำคัญแบ่งเป็น |
ระดับที่ ๑ โรคหรือภาวะที่พบบ่อย และมีความสำคัญซึ่งแพทย์ประจำบ้านต้องรู้เป็นอย่างดี สามารถเรียนรู้ได้จากผู้ป่วยโดยตรง
สามารถให้การวินิจฉัย ให้การบำบัดรักษา ส่งเสริมป้องกัน ฟื้นฟูสมรรถภาพได้ ระดับที่ ๒ โรคหรือภาวะที่มีความสำคัญซึ่งแพทย์ประจำบ้านต้องรู้ สามารถเรียนรู้จากผู้ป่วย โดยอาจไม่ได้ดูแลผู้ป่วยโดยตรง แต่สามารถให้การวินิจฉัย ให้การบำบัดรักษา ส่งเสริมป้องกัน ฟื้นฟูสมรรถภาพได้ในระดับหนึ่ง ระดับที่ ๓ โรคที่พบน้อย ซึ่งแพทย์ประจำบ้านควรรู้ สามารถเรียนรู้โดยการศึกษาด้วยตนเอง หรือฟังบรรยาย สามารถ ให้การวินิจฉัย ให้การรักษาเบื้องต้นหรือส่งต่อผู้เชี่ยวชาญได้ |
|
๓) | การพัฒนาตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based Learning and Improvement) แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีควรมีประสบการณ์ด้านต่าง ๆ ดังนี้ |
ก. ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)ประกอบด้วย
• ทักษะในการติดต่อสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพ
ข. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)• ทักษะความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับงานจิตเวชศาสตร์ทั่วไป • ทักษะความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับบทบาทของจิตแพทย์รับปรึกษา • ทักษะความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับบทบาทจิตแพทย์เชิงกฎหมาย • ทักษะความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับงานจิตเวชศาสตร์เชิงสหวิชาชีพ
• พฤตินิสัยเจตคติ คุณธรรม และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ (professional habits, attitudes, moral, and ethics)
ค. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (system-based practice)• มีความสามารถในการบริหารจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสำรวจจิตใจ พัฒนาตนเอง สนใจในการเรียนรู้ต่อเนื่อง
มีความตระหนักรู้และรับผิดชอบต่อบริบทสังคมและระบบบริการสุขภาพของประเทศ และสามารถแสวงหาแหล่งทรัพยากรอื่นๆ ในระบบเพื่อให้การบริการรักษาพยาบาลมีคุณภาพ คำนึงความปลอดภัยของผู้ป่วย สิทธิผู้ป่วย บทบาทของการแพทย์ทางเลือก การใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุสมผล ตลอดจนเข้าใจหลักการของการบริหารจัดการ
ง. การเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการพัฒนาตนเอง (practice-based learning and improvement)
ตระหนักถึงขีดจำกัดในความรู้และความสามารถของตน ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ การค้นคว้าข้อมูล และการทดลองทางการแพทย์เพื่อได้ความรู้ ไปพัฒนาแผนการรักษาผู้ป่วย และคุณภาพการรักษาพยาบาลรวมถึงการดูแลสุขภาพของตนเอง
|
การจัดประสบการณ์การปฏิบัติงานทางคลินิกของแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์
การทำวิจัย
สถาบันฯ มีการเตรียมความพร้อมให้กับแพทย์ประจำบ้านของสถาบันฯ ตั้งแต่การเตรียมโครงร่างการวิจัย ไปจนสิ้นสุดการทำงานวิจัยและจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เพื่อนำส่งราชวิทยาลัยฯการดำเนินงานวิจัย และ การรับรองวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติสาขาจิตเวชศาสตร์ให้มีคุณวุฒิ “เทียบเท่าปริญญาเอก”
จำนวนปีของการฝึกอบรม ๓ ปี
จำนวนปีของการฝึกอบรม ๓ ปี
กฎระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงานดังนี้
๑) |
การฝึกอบรมและปฏิบัติงาน
ก. การฝึกอบรมและปฏิบัติงาน อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการฝึกอบรมฯ ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา
ข. แพทย์ประจำบ้านต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสถาบันฯ ค. แพทย์ประจำบ้านต้องมีพฤติกรรมอันเหมาะสมต่อผู้ให้การฝึกอบรม ผู้ร่วมงาน และผู้ป่วย ไม่กระทำการใดๆ ที่จะเป็นการนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติคุณของวงการแพทย์ ง. แพทย์ประจำบ้านต้องรับผิดชอบและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายให้เรียบร้อย ถูกต้องตามหลักวิชา เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ร่วมงานและนักเรียนแพทย์/นักศึกษาแพทย์ จ. แพทย์ประจำบ้านต้องปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายทั้งวาจา และลายลักษณ์อักษร โดยต้องถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติโดยไม่มีข้อยกเว้น รวมทั้งการอยู่เวรปฏิบัติงานนอกเวลา ฉ. แพทย์ประจำบ้านผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นแพทย์เวร มีหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วย สอนและให้คำแนะนำแพทย์ประจำบ้านรุ่นน้องในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ทั้งนี้ต้องอยู่ในบริเวณที่สถาบันฯได้จัดไว้ให้และมาปฏิบัติงานได้ทันที ช. ในระหว่างการฝึกอบรมหากพบว่าแพทย์ประจำบ้านประพฤติตนเสื่อมเสีย ขาดความรับผิดชอบ ไม่สนใจในการฝึกอบรม และปัญหาอื่นๆ ที่คณาจารย์พิจารณาว่าไม่เหมาะสมต่อการฝึกอบรม คณาจารย์ฯ มีสิทธิให้แพทย์ประจำบ้านผู้นั้นออกจากการฝึกอบรมได้ ซ. สถาบันฯมีการกำหนดการฝึกอบรมทดแทนในกรณีที่แพทย์ประจำบ้านมีการลาพัก เช่น การลาคลอดบุตร การเจ็บป่วย การเกณฑ์ทหาร การถูกเรียกฝึกกำลังสำรอง การศึกษาดูงานนอกแผนการฝึกอบรม/หลักสูตร เป็นต้น ฌ. สถาบันฯสนับสนุนให้แพทย์ประจำบ้านได้เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการที่จัดโดยราชวิทยาลัยฯ/สมาคมจิตแพทย์ฯ |
๒) |
การลา
ก. เมื่อแพทย์ประจำบ้านป่วย ต้องยื่นใบลาป่วยต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ถ้าลาเกิน ๓ วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์แนบมาด้วย
ข. ในการลากิจต้องยื่นใบลาต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อได้รับอนุมัติจึงจะหยุดได้ ค. สถาบันฯกำหนดให้แพทย์ประจำบ้านลาพักผ่อนได้ ๑๐ วันทำการต่อปี ง. คณะกรรมการฯจะประชุมและกำหนดการฝึกอบรมทดแทนในกรณีที่ผู้เข้ารับ การฝึกอบรมมีการลาพัก เช่น การลาคลอดบุตร การเจ็บป่วย การเกณฑ์ทหาร การถูกเรียกฝึกกำลังสำรอง การศึกษาดูงานนอกแผนการฝึกอบรม/หลักสูตร |
๓) |
การพิจารณาโทษ
เมื่อแพทย์ประจำบ้านทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับ พิจารณาความผิดโดย คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาร่วมกัน โดยมีระดับโทษดังนี้
ก. กล่าวตักเตือนด้วยวาจา ข. ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ค. ภาคทัณฑ์ ง. ยืดระยะเวลาการฝึกอบรม จ. ให้ออกจากการฝึกอบรม |
การวัดและประเมินผลระหว่างการฝึกอบรมและการเลื่อนชั้นปี
ก) |
สถาบันฯจัดให้มีการประเมินผู้เข้ารับการฝึกอบรมระหว่างการฝึกอบรม ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจตคติและกิจกรรมทางการแพทย์ ในมิติต่างๆดังนี้
มิติที่ ๑ ประเมินสมรรถนะ EPA ตามที่ อฝส.กำหนด
มิติที่ ๒ การประเมินสมรรถนะด้านทักษะทางคลินิก เจตคติ และ professionalism มิติที่ ๓ การประเมินคุณภาพการรักษาพยาบาลจากเวชระเบียน (ผ่าน/ไม่ผ่าน) มิติที่ ๔ การรายงานผลการสอบจัดโดยสถาบัน มิติที่ ๕ การรายงานความก้าวหน้าผลงานวิจัย |
ข) |
มีการกำหนด Achievable milestones หรือ EPAs ในแต่ละชั้นปี ผลการประเมินนำไปใช้ในกรณี ต่อไปนี้
๑ เพื่อเลื่อนระดับชั้นปี โดย เป็นไปตาม EPAs ของหลักสูตรจิตเวชศาสตร์
๒ โดยเกณฑ์ผ่านตามที่คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ ประกาศกำหนดก่อนการเข้าฝึกอบรม การประเมินระหว่างการฝึกอบรมจัดขึ้นสม่ำเสมอและแจ้งผลให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรับทราบ เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านต่างๆ ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้สมบูรณ์ขึ้น |
เกณฑ์การเลื่อนชั้นปี
๑) | ปฏิบัติงานได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ของระยะเวลาที่กำหนด |
๒) | ผ่านการประเมินตามมิติต่างๆ ที่กำหนดในหลักสูตร โดยได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ของแต่ละมิติ |
๓) | ผ่านตามเกณฑ์ Entrustable professional activities |
๔) | ปฏิบัติงานได้สอดคล้องตามข้อกำหนดของสถาบันฯไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันฯ |
การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
สาขาจิตเวชศาสตร์สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
๑) คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
๑) |
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
• ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่าที่แพทยสภารับรองได้รับการขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาแล้ว
• ผ่านการอบรมแพทย์เพิ่มพูนทักษะเป็นเวลาอย่างน้อย ๑ ปี • ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรสาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นของแพทยสภา หรือเป็น แพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ที่ผ่านการฝึกอบรมชั้นปีที่ ๒ แล้วสามารถสมัครเข้ารับการฝึกอบรมในชั้นปีที่ ๓ ได้ (หากแพทย์ประจำบ้าน ชั้นปีที่ ๓ ยังไม่ครบตามจำนวนที่กำหนด) • หากผู้สมัครมีความพิการ จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานเป็นจิตแพทย์ • หากเป็นชายต้องเป็นผู้ผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือได้รับการยกเว้นการเป็นทหาร หรืออยู่ระหว่างการผ่อนผัน |
๒) | มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์แพทยสภาในการเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง |
๓) | ผู้ที่มีต้นสังกัดจะได้รับการพิจารณาก่อน หากต้นสังกัดอยู่ในพื้นที่ที่ขาดแคลนจิตแพทย์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ |
๒) ศักยภาพในการผลิตแพทย์ประจำบ้านต่อปี
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา รับแพทย์ประจำบ้านจำนวน ๘ อัตรา/ปี |
๓) วิทยฐานะ
• แพทย์ประจำบ้านที่ผ่านการฝึกอบรมและเลื่อนชั้นปี จะได้รับประกาศนียบัตรผ่านการฝึกอบรมและเลื่อนชั้นปี จากสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต
• แพทย์ประจำบ้านที่ฝึกอบรมครบ ๓ ปี และผ่านการประเมินการฝึกอบรมจากสถาบันฯ มีสิทธิสมัครสอบเพื่อวุฒิบัตรฯ เป็นแพทย์เฉพาะทางแสดงความรู้ความชำนาญใน การประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจิตเวชศาสตร์ จากแพทยสภา (ว.ว.จิตเวชศาสตร์ ) |
๔) คณะกรรมการคัดเลือก
๔.๑) | การคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรม สถาบันฯได้กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยกำหนดวิธีการคัดเลือกยึดหลักความเสมอภาค โปร่งใส และตรวจสอบได้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔.๒) |
คณะกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔.๓) | ในการคัดเลือกจะต้องมีคณะกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์ อย่างน้อย ๔ คน เป็นผู้สัมภาษณ์ |
๕) กระบวนการคัดเลือก
๕.๑) |
ประกาศรับสมัครโดยแพทยสภา
การรับสมัคร ยึดตามกำหนดการของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยโดยแพทย์ผู้สนใจ สามารถดูรายละเอียดการรับสมัคร และกรอกใบสมัครด้วยตนเองทาง website : http://www.tmc.or.th/tcgme พิมพ์เอกสารและหลักฐานต่างๆ ส่งไปยังราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ตามวันเวลาที่กำหนด
|
๕.๒) |
คณะกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์สัมภาษณ์โดยประเมินจากคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
๑) ความรู้
๒) ความสามารถ ๓) บุคลิกภาพและเจตคติ ๔) คุณธรรมและจริยธรรม
ทั้งนี้เกณฑ์การรับสมัครผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นไปตามที่หลักสูตรได้กำหนดคุณสมบัติไว้ ตามระเบียบของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และแพทย์สภา โดยปราศจากอคติเรื่องเพศ เชื้อชาติ ศาสนา การเมือง หรืออำนาจอันมิชอบ
|
๕.๓) | กรรมการแต่ละคนต่างให้คะแนนเป็นอิสระต่อกันในใบแบบฟอร์มการให้คะแนน โดยปราศ จากอคติเรื่องเพศ เชื้อชาติ ศาสนา การเมือง หรืออำนาจอันมิชอบ จากนั้นนำค่าคะแนนมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย แล้วเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ย |
๕.๔) | คณะกรรมการฯ ประชุมตัดสินผลการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ โดยเรียงลำดับจากคะแนนมากไปหาน้อย แล้วจึงนำเสนอผลการสอบสัมภาษณ์ต่อคณะกรรมการฝึกอบรมฯ เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณารับรอง |
๕.๕) | การพิจารณาตัดสินผลการคัดเลือกฯ ของที่ประชุมคณะกรรมการฝึกอบรมฯ ถือเป็นสิทธิ์ขาด คณะกรรมการฝึกอบรมฯ จะมีหนังสือแจ้งผลการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ ส่งไปยังราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และแพทยสภาตามลำดับ |
๕.๖) | ผู้สมัครสามารถอุทธรณ์ผลการคัดเลือกได้ โดยให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อประธานคณะกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ภายใน ๑๕ วันหลังจากประกาศผลการคัดเลือกการคัดเลือก |
๕.๗) | ผู้ประสงค์จะเข้ารับการฝึกอบรม/ผู้สมัครที่ต้องการอุทธรณ์ผลการคัดเลือก สามารถติดต่อ เพื่อขอทราบรายละเอียด โดยติดต่อทางโทรศัพท์หมายเลข ๐ ๒๔๔๒ ๒๕๐๐ ต่อ ๕๙๒๗๖ |
๖) เอกสารประกอบการสมัคร
๖.๑) | รายละเอียดตามประกาศจากแพทยสภา และราชวิทยาลัยจิตแพทย์ |
๖.๒) | หนังสือแสดงเจตจำนง (Statement of purpose ) เขียนด้วยลายมือตนเอง ความยาว ๑ หน้ากระดาษ A4 |
๖.๓) | หนังสือรับรอง/แนะนำตัวผู้สมัคร ให้ใช้แบบฟอร์มของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา สามารถดาวโหลดได้ด้านล่าง |
๖.๔) |
สำเนาผลการสอบภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ - IELTS - TOEFL: iBT(หรือเทียบเท่าแบบ CBT หรือ PBT) - TOEIC, DIFA TES(ส่วน Reading และ listening) - CU-TEP - TU-GET (CBT หรือเทียบเท่า) |